เมนู

มุสาวาท มีโทษ ดังนี้


มุสาวาท (พูดเท็จ) เพื่อต้องการทรัพย์มีประมาณกากณิกหนึ่ง ( คําว่า
กากณิกเป็นชื่อมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด ทรัพย์มีค่าเท่าค่าแห่งชิ้นเนื้อพอกากลืน
กินได้) มีโทษน้อยในเพราะคำพูดอันเป็นเท็จนั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ครึ่งมาสก1 มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ หนึ่งมาสก มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ 5 มาสก มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ครึ่งกหาปณะ มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ หนึ่งกหาปณะ มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์มีค่านับไม่ได้ มีโทษมากกว่านั้น
แต่มุสาวาท เพื่อทำสงฆ์ให้แตกจากกัน มีโทษมากยิ่งนัก.

การดื่มสุรา มีโทษ ดังนี้


การดื่มสุราประมาณฟายมือหนึ่ง มีโทษน้อย
การดื่มสุราประมาณกอบหนึ่ง มีโทษมากกว่า
แต่การดื่มสุรามากสามารถให้กายไหว แล้วทำการปล้นบ้าน ปล้นหมู่
บ้าน มีโทษหนักมาก.
จริงอยู่ ในปาณาติบาต การฆ่าพระขีณาสพก็ดี ในอทินนาทานการ
ถือเอาวัตถุสิ่งของของพระขีณาสพไปก็ดี ในกาเมสุมิจฉาจารการประพฤติผิดใน
ภิกษุณีผู้เป็นขีณาสพก็ดี ในมุสาวาทการยังสงฆ์ให้แตกจากกันก็ดี ในการดื่ม
สุราอันสามารถให้กายเคลื่อนไหวไปปล้นบ้านปล้นหมู่บ้านก็ดี จัดว่ามีโทษมาก

1. 5 มาสก เท่ากับ 1 บาท, 4 บาท เท่ากับ 1 กหาปณะ (บาท = เงินบาทของอินเดียโบราณ)

ทั้งนั้น แต่ว่าสังฆเภท โดยการกล่าวซึ่งมุสาวาทเท่านั้นจัดว่ามีโทษมาก
กว่าโทษเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เพราะว่าอกุศลอันมากนั้นสามารถเพื่อจะให้
ไหม้อยู่ในนรกตลอดกัป.

ว่าโดยปโยคะ ปาณาติบาต เป็นสาหัตถิกะ (คือทำด้วยมือของตน
เอง) ก็มี เป็นอาณัติกะ (คือ ใช้ให้คนอื่นทำ) ก็มี. อทินนาทานก็เหมือน
อย่างนั้น. กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และสุราปานะ เป็นสาหัตถิกะเท่านั้น.
บัณฑิตครั้นทราบวินิจฉัยสิกขาบทเหล่านั้นด้วยสามารถแห่งการวินิจฉัย
ซึ่งปาณาติบาตเป็นต้น (คือการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป อันหมายถึงการฆ่า
สัตว์ เป็นต้น) โดยธรรมเป็นต้นอย่างนี้แล้วก็พึงทราบวินิจฉัยแม้ซึ่งคำว่า
ปาณาติปาตา เวรมณี (แปลว่า งดเว้นจากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป)
เป็นต้น โดยธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดยเวทนา โดยมูล โดยกรรม
โดยขัณฑะ โดยสมาทาน โดยปโยคะ ด้วย.
ในคำเหล่านั้น คำว่า ว่าโดยธรรม ได้แก่ สิกขาบททั้ง 5 นั้นเป็น
ธรรมมีเจตนา ด้วยสามารถแห่งปริยายศีลเป็นไปตามลำดับนั้นนั่นแหละ.
ว่าโดยโกฏฐาส สิกขาบทแม้ทั้ง 5 เป็นกรรมบถ.
ว่าโดยอารมณ์ การงดเว้นจากปาณาติปาต เพราะกระทำชีวิตินทรีย์
ของผู้อื่นให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ย่อมงดเว้นด้วยเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นของตน.
นัยแม้ในสิกขาบทที่เหลือนอกนี้ก็นัยนี้แหละ เพราะว่าสิกขาบทเหล่านี้แม้ทั้ง
หมด กระทำวัตถุอันบุคคล พึงก้าวล่วงแล้วย่อมงดเว้น ด้วยเจตนาเป็นเครื่อง
งดเว้นเช่นเดียวกัน.
ว่าโดยเวทนา สิกขาบทแม้ทั้งหมดเป็นสุขเวทนา หรือเป็นมัชฌัตต-
เวทนา.

ว่าโดยมูล เมื่องดเว้นด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ ย่อมเป็นอโลภะ
อโทสะและอโมหะมูล เมื่องดเว้นด้วยจิตปราศจากญาณ ย่อมเป็นอโลภะและ
อโทสะมูลเท่านั้น.
ว่าโดยกรรม มุสาวาทา เวรมณี ในที่นี้เป็น วจีกรรม. ที่เหลือ
เป็น กายกรรม.
ว่าโดยขัณฑะ (ว่าโดยการขาด) คฤหัสถ์ทั้งหลาย ย่อมก้าวล่วง
สิกขาบทใด ๆ สิกขาบทนั้น ๆ เท่านั้นย่อมขาด ย่อมแตก สิกขาบทที่เหลือ
ย่อมไม่ขาด ไม่แตก.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะคฤหัสถ์ทั้งหลาย มิใช่เป็นผู้มีศีลประจำ เขาย่อมสามารถ
เพื่อรักษาสิกขาบทใด ๆ ก็ย่อมรักษาสิกขาบทนั้น ๆ นั่นแหละ. แต่สิกขาบท
ทั้งหลายทั้งปวงของสามเณร แม้เธอก้าวล่วงเพียงข้อเดียว ชื่อว่าย่อมแตก
ทั้งหมด แม้เธอจะไม่ได้ก้าวล่วงสิกขาบททั้งหมดก็ตาม ถึงอย่างนั้นสิกขาบท
ที่เหลือเหล่านั้นก็ชื่อว่า ย่อมแตกนั่นแหละ. ก็การก้าวล่วงศีลของสามเณรนั้นมี
วัตถุเป็นทัณฑกรรม (คือ ต้องถูกลงโทษ) เมื่อสามเณรนั้นทำทัณฑกรรมว่า
กระผมจักไม่ทำอย่างนี้อีก ศีลย่อมบริบูรณ์.
ว่าโดยสมาทาน เมื่อคฤหัสถ์ตั้งใจว่า ข้าพเจ้าจักอธิษฐานศีล 5
เองทีเดียว
ดังนี้ก็ดี เมื่อสมาทานศีลนั้นโดยแยกแต่ละข้อก็ดี ย่อมชื่อว่า
สมาทานแล้วทีเดียว คือว่าคฤหัสถ์นั้นนั่งในสำนักแห่งผู้ใดแล้วก็ถือเอาด้วยคำ
ว่า ข้าพเจ้าจะสมาทานศีล 5 ก็ดี ขอสมาทานโดยแต่ละข้อก็ดี ชื่อว่า ย่อม
สมาทานนั่นแหละ.

ว่าโดยปโยคะ ศีล 5 แม้ทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นสาหัตถิก-
ปโยคะทั้งหมด (คือกระทำด้วยตนเองทั้งหมด).

ธรรมเป็นสิกขา


พึงทราบวินิจฉัยในธรรมอันเป็นสิกขานั้น ดังนี้.

กุศลธรรมทั้งหลายอันเป็นไปในภูมิ 4 แม้ทั้งหมด ชื่อว่า สิกขา
เพราะความที่ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลพึงศึกษา เหตุนั้น เพื่อแสดงซึ่ง
สิกขาทั้งหลายเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ
เป็นอาทิ. ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยยังพระบาลีให้พิสดาร
โดยนัยที่กล่าวไว้ในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลังนั่นแหละ. ส่วนในสิกขาปท-
วิภังค์นี้แสดงไว้เพียงหัวข้อเท่านั้นแล.
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


ในปัญหาปุจฉกะ

บัณฑิตพึงทราบความที่สิกขาบททั้งหลายเป็นกุศล
เป็นต้น โดยทำนองแห่งนัยของพระบาลีนั่นแหละ. ก็ในอารัมมณติกะทั้งหลาย
สิกขาบทเหล่าใดที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ว่าเป็นสัตตารัมมณะ (คือ มีสัตว์เป็น
อารมณ์) ก็เพราะสิกขาบทเหล่านั้นย่อมกระทำสังขารอันถึงซึ่งการนับว่า เป็น
สัตว์
เท่านั้นให้เป็นอารมณ์ และเพราะสิกขาบทแม้ทั้งหมดเหล่านั้นสำเร็จแล้ว
ด้วยสามารถแห่งสัมปัตตวิรัติทั้งนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็น
ปริตตารัมมณะด้วย เป็นปัจจุปันนารัมมณะด้วย. อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า
ความเป็นแห่งสิกขาบทแม้ทั้งปวงเป็นพหิทธารัมมณะ ก็เพราะความที่การงด
เว้นย่อมมีแก่วัตถุใด วัตถุนั้นเป็นของภายนอกทั้งสิ้น แล.
ปัญหาปุจฉกะ จบ